ในการถ่ายทอดสดพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของประธานาธิบดีเชื้อสายแอฟริกันคนแรกของอเมริกา ภาพจากกล้องแสดงให้เห็นภาพมุมกว้างซึ่งมีฝูงชนเกือบสองล้านคนมาเป็นพยานในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์นั้น บ็อบ ชิฟเฟอร์ ผู้รายงานข่าวจากซีบีเอสกล่าวว่า “พระเอกของงานนี้คือภาพมุมกว้าง” เป็นภาพคนกลุ่มใหญ่ยืนเต็มบริเวณอนุสรณ์สถานลินคอล์นไปจนถึงอาคารรัฐสภา
ช่วงที่ออสวอลด์ แชมเบอรส์ สอนอยู่ที่สถาบันพระคริสตธรรมในลอนดอน (1911-1915) คำพูดของเขามักทำให้นักศึกษาประหลาดใจ หญิงสาวคนหนึ่งบรรยายว่า เมื่อถึงเวลาที่ให้อภิปราย นักศึกษามักตั้งคำถามหรือข้อโต้แย้งมากมาย เธอจำได้ว่า ออสวอลด์มักจะยิ้มและพูดว่า “พอแค่นี้ก่อน คุณจะเข้าใจเองภายหลัง” เขาหนุนใจให้นักศึกษาใคร่ครวญประเด็นนั้นๆ และยอมให้พระเจ้าเปิดเผยความจริงของพระองค์แก่พวกเขา
ผมมีภาพถ่ายชายหนุ่มบนหลังม้าบนภูเขาในโคโลราโดในช่วงฤดูใบไม้ร่วงอันงดงาม เขากําลังครุ่นคิดว่าควรเลือกไปต่อในเส้นทางใด ทําให้ผมคิดถึงบทกวี “ถนนที่ไม่ได้เลือก” ของโรเบิร์ต ฟรอสต์ ซึ่งขบคิด เรื่องทางสองสายที่อยู่เบื้องหน้า ทั้งสองทางดูเชิญชวนพอๆ กัน แต่เขาคงจะไม่ได้กลับมาที่นี่อีก เขาจึงต้องเลือกสักทาง ฟรอสต์เขียนไว้ว่า “ทางสองสายทอดเข้าไปในป่า และฉันเลือกทางที่มีคนเคยผ่านน้อยกว่า และนั่นได้ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป"
ครั้งหนึ่งที่ผมไปชมอนุสรณ์สถานแห่งชาติ 11 กันยายนที่นิวยอร์กซิตี้ผมถ่ายรูปสระน้ำแฝด รอบสระทั้งสองมีรายชื่อผู้เสียชีวิตจากการโจมตีอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เกือบ 3,000 ชื่อสลักบนแผ่นทองแดง ต่อมาเมื่อผมมองดูรูปนี้ใกล้ๆ ผมจึงเห็นมือผู้หญิงคนหนึ่งแตะอยู่บนชื่อหนึ่ง หลายคนมาที่นี่เพื่อสัมผัสชื่อและระลึกถึงคนที่พวกเขารัก
เพื่อนแนะฉันให้เลี่ยงคำว่า “ตลอดเลย” หรือ “ไม่เคยเลย” เวลาโต้เถียงแม้กับคนในครอบครัว เรามักจะติติงคนรอบตัวและไม่แสดงความรักกับคนที่เรารัก แต่รักมั่นคงของพระเจ้าที่มีต่อเราทุกคนไม่เคยเปลี่ยนแปลง
ตอนที่ไปพักโรงแรมแห่งหนึ่งในเมืองออสติน รัฐเท็กซัส ผมเห็นการ์ดใบหนึ่งวางอยู่บนโต๊ะในห้อง เขียนว่า ยินดีต้อนรับ เราอธิษฐานขอให้ท่านพักผ่อนสบาย และให้การเดินทางของท่านเกิดผล ขอพระเจ้าทรงอำนวยพระพรและพิทักษ์รักษาท่าน ขอพระพักตร์ของพระองค์ทอแสงแก่ท่าน
ผมชอบและติดตามงานของนักเขียนชาวอังกฤษชื่อ จี. เค. เชสเตอร์ตันนานหลายปี อารมณ์ขันและความฉลาดของเขามักทำให้ผมหัวเราะแล้วคิดใคร่ครวญ อย่างเช่นเขาเขียนว่า “คุณอธิษฐานขอบพระคุณก่อนมื้ออาหารก็ดีแล้ว แต่ผมขอบพระคุณก่อนการแสดงละครและโอเปร่า ก่อนคอนเสิร์ต ก่อนละครใบ้ ก่อนเปิดหนังสือ ก่อนวาดรูป ทาสี ว่ายน้ำ ฟันดาบ ต่อยมวย เดิน เล่น เต้น และขอบพระคุณก่อนจุ่มปากกาลงในหมึก”
ปี 1960 รูบี้ บริดเจสอายุ 6 ขวบเป็นเด็กแอฟริกัน-อเมริกันคนแรกที่เข้าเรียนในโรงเรียนประถมของรัฐสำหรับคนผิวขาวในอเมริกาตอนใต้ เป็นเวลานับเดือนที่ตำรวจจากรัฐบาลกลางต้องเดินคุ้มกันรูบี้ทุกวัน เมื่อเดินผ่านกลุ่มพ่อแม่ที่โกรธเคืองตะโกนด่า ข่มขู่และดูถูกเธอ เมื่อถึงห้องเรียนโดยปลอดภัย เธอนั่งเพียงลำพังกับบาร์บาร่า เฮนรี่ ครูคนเดียวที่เต็มใจสอนเธอ ขณะที่พ่อแม่คนอื่นไม่ให้ลูกเรียนด้วยกันกับรูบี้
้เอมี่ คาร์ไมเคิล (1867-1951) เป็นที่รู้จักเนื่องจากเธอช่วยเหลือและให้ชีวิตใหม่แก่เด็กหญิงกำพร้าในอินเดีย ระหว่างการทำงานอันเหนื่อยล้านี้ มีช่วงเวลาที่เธอเรียกว่า “ช่วงเวลานิมิต” ในหนังสือชื่อ ทองจากแสงจันทร์ เธอเขียนว่า “ในวันที่คลาคล่ำไปด้วยผู้คน มีชั่วขณะที่เราได้นึกถึง ‘ดินแดนไกลโพ้น’ ขณะนั้นเราสงบยืนนิ่งอยู่บนถนนหนทาง”